ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

‘สร้างสุขปลายทาง’ ครั้งที่ 3 ปักธงสร้างความเข้าใจการดูแลแบบประคับประคอง

   แม้ว่าทุกวันนี้การแพทย์จะรุดหน้าไปมาก แต่ถึงอย่างไรแล้วเราก็คงหนีไม่พ้นวาระสุดท้ายของชีวิต การเผชิญหน้ากับความตายอย่างกล้าหาญ เข้าใจ และมีศักดิ์ศรี จึงเป็นโจทย์แหลมคมที่เราควรครุ่นคิดกันตั้งแต่วันนี้      คำถามคือ ในช่วงสุดท้ายก่อนจะออกเดินทางไกล เราปรารถนาที่จะเห็นตัวเองอยู่ในสภาพใด?

ตามหานิยามสู่ ‘การตายดี’

   “ในการทำงาน การที่หมอส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอบรมเรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) สำหรับผู้ป่วยระยะท้าย ไม่ค่อยมีในหลักสูตรแพทยศาสตร์ในโรงเรียนแพทย์ว่าผู้ป่วยแบบไหนคือผู้ป่วยระยะท้าย หมออาจไม่เข้าใจ จึงต้องมีคำจำกัดความถึงผู้ป่วยลักษณะนี้ ว่าการอยู่ในระยะท้าย หมายถึงการมีชีวิตอยู่ได้อีกกี่เดือน หมอจะได้ตระหนักว่านี่คือ palliative แล้วส่งผู้ป่วยเข้ารับบริการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเขาเอง”      “ที่ผ่านมา เราพบกรณีที่หมอไม่รู้ว่าเป็นคนไข้เป็นผู้ป่วยระยะท้าย เลยไม่ได้ให้การดูแลแบบแนวทางประคับประคอง ก็รักษาไปเรื่อยๆ จนเสียชีวิต แต่ถ้าหมอมีความเข้าใจ เมื่อหมอพบผู้ป่วยที่เข้าข่ายนี้ หมอก็

‘วิกฤตความหมายในความตาย’ เร่งสร้างความรู้-การสื่อสารเรื่อง ‘ความตาย’ ในสังคม

   เวที ‘วิกฤตความหมายในความตาย’ ชี้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมกำลังสร้างวิกฤตต่อความหมายทั้งกับชีวิตและความตาย นักวิชาการย้ำความหมายของความตายเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยและสัมพันธ์กับคำถามว่า ‘ชีวิตที่ดีคืออะไร?’      วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัด เสวนา REST IN PEACE 4 : วิกฤตความหมายในความตาย จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) รวมทั้งภาคีเครือข่ายต่างๆ      รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา คณบดีคณะรัฐศ

สช. เปิดเวที “เร่งตาย VS เลือกตาย” หนุนใช้สิทธิมาตรา 12 ตายตามธรรมชาติ

   สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดเวที สช.เจาะประเด็น “เร่งตาย VS เลือกตาย สิทธิในวาระสุดท้าย ใครกำหนด?” ผงะ!

เห็นพ้อง ‘สิทธิปฏิเสธการรักษา’ หมอทำได้ตาม ม.12 เร่งสร้างแนวปฏิบัติต่อผู้ป่วยระยะท้าย

   นักกฎหมายยืนยันการทำตามเจตนาของผู้ป่วยระยะท้ายตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพได้รับความคุ้มครอง แต่ต้องเร่งสร้างความเข้าใจกับสังคม ด้านแพทย์เห็นว่าเป็นการยุติความทรมานของผู้ป่วย แนะควรสร้างระบบดูแลผู้ป่วยระยะท้าย แนวทางปฏิบัติ และเสริมศักยภาพทีมแพทย์      วันที่ 16 มีนาคม 2562 ภายในงานวิชาการรำลึก ศ.จิตติ ติงศภัทิย์ ครั้งที่ 24 มีการเสวนาในหัวข้อ ‘สิทธิปฏิเสธการรักษาในระยะท้ายของชีวิตกับปัญหาในทางปฏิบัติ’ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ การจัดเสวนาดังกล่าว สืบเนื่องจาก มาตรา 12 ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ระบุว่า ‘บุคคลมีสิทธิทำห

ผนึกภาคีเครือข่ายสร้างสุขที่ปลายทาง พลิกโฉมระบบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสู่ ‘การตายดี’

   คณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทางเดินหน้าพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองตามมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ร่วมกับเครือข่ายและจิตอาสา เปลี่ยนทัศนคติสังคม-สานพลัง 4 ประเด็นหลัก ขณะที่แพทย์เตือนประเทศไทยเผชิญหน้าภาวะสึนามิลูกใหญ่ในระบบสุขภาพ เสนอออกกฎหมายเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการทำงาน      เวที “สร้างสุขที่ปลายทาง ปีที่ 2” ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2561 จัดโดยความร่วมมือขององค์กรด้านสุขภาพ 11 แห่ง ในนามคณะทำงานสร้างสุขที่ปลายทาง ณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ โดยงานวันที่ 2 พ.ย.